เมนู

สัจ เป็นการแทงตลอดด้วยการละ แทงตลอดนิโรธสัจ เป็นการแทง
ตลอดด้วยการทำให้แจ้ง แทงตลอดมรรคสัจ เป็นการแทงตลอดด้วย
การเจริญ.
คำว่า ทัสนวิสุทธิ ความว่า ในขณะโสดาปัตติมรรค ทัสนะ
ย่อมหมดจด ในขณะโสดาปัตติผล หมดจดแล้ว ในขณะสกทาคามิมรรค
ย่อมหมดจด ในขณะสกทาคามิผล หมดจดแล้ว ในขณะอนาคามิมรรค
ย่อมหมดจด ในขณะอนาคามิผล หมดจดแล้ว ในขณะอรหัตมรรค
ย่อมหมดจด ในขณะอรหัตผล หมดจดแล้ว.
ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะ
อรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการสงเคราะห์
ธรรมทั้งปวงเป็นหมวดเดียวกัน และการแทงตลอดธรรมต่างกัน และ
ธรรมหมวดเดียวกัน เป็นทัสนวิสุทธิญาณ.


40. อรรถกถาทัสนวิสุทธิญาณนิทเทส


[242] พึงทราบวินิจฉัยในทัสนวิสุทธิญาณนิทเทส ดังต่อ
ไปนี้ บทว่า สพฺเพ ธมฺมา เอกสงฺคหิตา - ธรรมทั้งปวงท่าน
สงเคราะห์เป็นหมวดเดียวกัน ได้แก่ ธรรมที่เป็นสังขตะและอสังขตะ
ทั้งหมดท่านสงเคราะห์ คือ กำหนดด้วยหมวดเดียวกัน.

บทว่า ตถฏฺเฐน - โดนสภาพถ่องแท้ คือ โดยสภาพเป็นจริง.
อธิบายว่า โดยมีอยู่ตามสภาพของตน ๆ.
บทว่า อนตฺตฏฺเฐน - โดยสภาพมิใช่ตัวตน คือ โดยสภาพ
เว้นจากตัวตนอันได้แก่ ผู้กระทำและผู้เสวย.
บทว่า สจฺจฏฺเฐน - โดยสภาพจริง คือ โดยสภาพที่ไม่ผิดจาก
ความจริง. อธิบายว่า โดยความเป็นสภาพของตนไม่เป็นอย่างอื่น.
บทว่า ปฏิเวธฏฺเฐน - โดยสภาพควรแทงตลอด คือ ควรแทง
ตลอดด้วยญาณ. ในบทนี้พึงทราบการแทงตลอด โดยความไม่ลุ่มหลง
และโดยอารมณ์ด้วยญาณอันเป็นโลกุตระ.
บทว่า อภิชานนฏฺเฐน - โดยสภาพที่ควรรู้ยิ่ง คือ โดยสภาพ
ที่ควรรู้ยิ่งธรรมนั้น ๆ โดยอารมณ์ด้วยญาณอันเป็นโลกิยะ โดยความ
ไม่หลง และโดยอารมณ์ด้วยญาณอันเป็นโลกุตระ. ดังที่พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าตรัสไว้ว่า สพฺพํ ภิกฺขเุว อภิญฺเญยฺย1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
สิ่งทั้งปวงควรรู้ยิ่ง
. บทว่า ปริชานนฏฺเฐน - โดยสภาพที่ควรกำหนด
รู้ คือ โดยสภาพที่ควรกำหนดรู้ธรรมทั้งหลายที่รู้ยิ่งแล้วโดยสภาวะด้วย
ญาณอันเป็นโลกิยะ และโลกุตระโดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแหละ โดยความ
ไม่เที่ยงเป็นต้น และโดยการออกไปเป็นต้น เหมือนที่ตรัสไว้ว่า สพฺพํ
ภิกฺขเว ปริญฺเญยฺยํ2
ดูก่อนภิกษุทั้งปวง สิ่งทั้งปวงควรกำหนดรู้.
1. สํ. สฬา. 18/49. 2. สํ. สฬา. 18/50.

บทว่า ธมฺมฏฺเฐน - โดยสภาพที่เป็นธรรม คือ โดยสภาพที่
เป็นธรรมมีการทรงไว้ซึ่งสภาพเป็นต้น.
บทว่า ธาตฏฺเฐน - โดยสภาพที่เป็นธาตุ คือ โดยสภาพที่เป็น
ธาตุมีความไม่มีชีวะเป็นต้น.
บทว่า ญาตฏฺเฐน - โดยสภาพที่อาจรู้ คือ โดยสภาพที่อาจรู้
ด้วยญาณอันเป็นโลกิยะและโลกุตระ. พึงทราบว่ามีสภาพอาจรู้แม้ใน
บทนี้เหมือนอย่างที่ท่านกล่าวไว้ว่า ทิฏฺฐํ - รูปที่เห็น สุตํ - เสียงที่
ได้ยิน มุตํ - อารมณ์ 3 ที่รู้ วิญฺญาตํ - ธรรมที่รู้แล้วเป็นรูป โดย
อรรถมีสภาพที่อาจเห็นได้เป็นต้น ฉะนั้น.
บทว่า สจฺฉิกิริยฏฺเฐน - โดยสภาพที่ควรทำให้แจ้ง คือ โดย
สภาพที่ควรทำให้ประจักษ์โดยอารมณ์.
บทว่า ผุสนฏฺเฐน - โดยสภาพที่ควรถูกต้อง ถือ โดยสภาพ
ที่ควรถูกต้องบ่อย ๆ โดยอารมณ์ของสภาพที่ทำให้ประจักษ์แล้ว.
บทว่า อภิสมยฏฺเฐน - โดยสภาพที่ควรตรัสรู้ คือ โดยสภาพ
ที่ควรตรัสรู้ด้วยญาณอันเป็นโลกิยะ. ถึงแม้ท่านกล่าวญาณหนึ่ง ๆ ว่า
ปัญญาในสภาพถ่องแท้เป็นญาณในวิวัฏฏะ คือ นิพพาน จริง. ปัญญาที่
ควรรู้ยิ่งเป็นญาณในสภาพที่ควรรู้. ปัญญาที่ควรทำให้แจ้งเป็นญาณใน
สภาพที่ควรถูกต้อง. อนึ่ง ท่านกล่าวไว้ในอรรถกถาว่า

สมวาเย ขเณ กาเล สมูเห เหตุทิฏฺฐิสุ
ปฏิลาเภ ปหาเน จ ปฏิเวเธ จ ทิสฺสติ.
พระโยคาวจรย่อมปรากฏในหมู่ ขณะ กาล
ที่ประชุม เหตุ ทิฏฐิ การได้ การละ และในการ
แทงตลอด.

ในการพรรณนาคาถา ท่านกล่าวอรรถแห่งปฏิเวธ แห่งอภิสมย-
ศัพท์. แต่ถึงดังนั้นในที่นี้พึงทราบสภาพต่าง ๆ แห่งธรรมเหล่านั้นด้วย
อรรถตามที่กล่าวแล้ว. เพราะในอรรถกานั่นแหละท่านกล่าวถึงการ
ตรัสรู้ธรรมด้วยสามารถแห่งญาณอันเป็นโลกิยะ.
บทว่า กามจฺฉนฺโท นานตฺตํ - กามฉันทะเป็นความต่าง ๆ ความ
ว่า กามฉันทะเป็นสภาพต่าง ๆ เพราะมีอารมณ์ต่าง ๆ โดยมีความ
ฟุ้งซ่าน. พึงทราบกิเลสทั้งหมด ด้วยประการฉะนี้.
บทว่า เนกฺขมฺมํ เอกตฺตํ - เนกขัมมะเป็นอันเดียวกัน ความว่า
เนกขัมมะมีสภาพเป็นอันเดียวกันโดยมีจิตเป็นเอกกัคตา และโดยไม่มี
ความฟุ้งซ่านของอารมณ์ต่าง ๆ. พึงทราบกุศลทั้งปวงด้วยประการฉะนี้.
ในที่นี้พึงทราบความต่างแห่งอกุศลทั้งหลายมีพยาบาทเป็นต้น ที่ท่านย่อ
ไว้โดยไปยาลด้วยอรรถตามที่กล่าวแล้ว. อนึ่ง พึงทราบความต่างของ
ธรรมเบื้องต่ำ ๆ มีวิตกวิจารเป็นต้น โดยเป็นสภาพหยาบกว่าธรรม
เบื้องสูง ๆ. เพราะการแทงตลอดความต่าง ๆ และความเป็นอันเดียวกัน

ท่านสงเคราะห์เป็นอันเดียวกัน ย่อมสำเร็จด้วยการแทงตลอดสัจจะใน
ขณะแห่งมรรค. ฉะนั้น พระสารีบุตรเถระจึงยกบทว่า ปฏิเวโธ ขึ้น
แล้วแสดงถึงการตรัสรู้สัจจะ.
บทว่า ปริญฺญา ปฏิเวธํ ปฏิวิชฺฌติ - พระโยคาวจรย่อมแทง
ตลอดทุกขสัจ เป็นการแทงตลอดด้วยการกำหนดรู้ คือ ตรัสรู้ด้วย
ปริญญาภิสมยะ. ในบทที่เหลือมีนัยนี้. จริงอยู่ ในกาลตรัสรู้สัจจะ ใน
ขณะมรรคเป็นอันเดียวกันแห่งมรรคญาณ ย่อมมีกิจ 4 อย่าง คือ
ปริญญา 1 ปหานะ 1 สัจฉิกิริยา 1 ภาวนา 1. เหมือนอย่างเรือ
ทำกิจ 4 อย่างในขณะเดียวกัน ไม่ก่อน ไม่หลัง คือ ละฝั่งใน 1 ตัต
กระแสน้ำ 1 นำสินค้าไป 1 ถึงฝั่งนอก 1 ฉันใด. พระโยคาวจร
ย่อมตรัสรู้สัจจะ 4 ในขณะเดียวกัน ไม่ก่อน ไม่หลัง คือ ตรัสรู้ทุกข์
ด้วยการกำหนดรู้ 1 ตรัสรู้สมุทัยด้วยการละ 1 ตรัสรู้มรรคด้วยการ
เจริญ 1 ตรัสรู้นิโรธด้วยการทำให้แจ้ง 1 ฉันนั้น. ท่านอธิบายไว้
อย่างไร. อธิบายไว้ว่า พระโยคาวจรกระทำนิโรธให้เป็นอารมณ์ ย่อม
บรรลุ ย่อมเห็น ย่อมแทงตลอดสัจจะ 4 ด้วยสามารถกิจ. เหมือน
อย่างว่า เรือละฝั่งใน ฉันใด. พระโยคาวจรกำหนดรู้ทุกข์อันเป็น
มรรคญาณฉันนั้น. เรือตัดกระแสน้ำ ฉันใด. พระโยคาวจรละสมุทัย
ฉันนั้น. เรือนำสินค้าไป ฉันใด. พระโยคาวจรเจริญมรรค เพราะ
เป็นปัจจัยมีเกิดร่วมกันเป็นต้น ฉันนั้น. เรือถึงฝั่งนอก ฉันใด. พระ-

โยคาวจรทำให้แจ้งนิโรธอันเป็นฝั่งนอก ฉันนั้น. พึงทราบข้ออุปมา
อุปมัย ด้วยประการฉะนี้.
บทว่า ทสฺสนํ วิสุชฺฌติ - ทัสนะย่อมหมดจด คือ ญาณ-
ทัสนะย่อมถึงความหมดจดด้วยการละกิเลสอันทำลายมรรคนั้น ๆ.
บทว่า ทสฺสนํ วิสุทฺธํ - ทัสสนะหมดจดแล้ว คือ ญาณ-
ทัสนะถึงความหมดจดแล้ว โดยถึงความหมดจดแห่งกิจของมรรคญาณ
นั้นในขณะเกิดผลนั้น ๆ. ท่านกล่าวมรรคผลญาณในที่สุด โดยสำเร็จ
ด้วยมรรคผลญาณแห่งปัญญา แทงตลอดความต่าง และความเป็นอัน
เดียวกัน ซึ่งท่านสงเคราะห์ธรรมทั้งปวงเป็นอันเดียวกัน.
จบ อรรถกถาทัสนวิสุทธิญาณนิทเทส


ขันติญาณปริโยคาหณญาณนิทเทส


[243] ปัญญาในความที่ธรรมปรากฏ เป็นขันติญาณอย่างไร ?
รูปปรากฏโดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
รูปใด ๆ ปรากฏ รูปนั้น ๆ ย่อมคงที่ ฉะนั้น ปัญญาในความที่ธรรม
ปรากฏจึงเป็นขันติญาณ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จักษุ ฯลฯ
ชราะและมรณะ ปรากฏโดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็น